Skip to content

Welcome to our store

Lounge Lovers
Previous article
Now Reading:
ลูกน้อยอายุเท่าไหร่ถึงนั่ง เก้าอี้กินข้าวทารก ได้
Next article

ลูกน้อยอายุเท่าไหร่ถึงนั่ง เก้าอี้กินข้าวทารก ได้

ลูกน้อยอายุเท่าไหร่ถึงนั่ง เก้าอี้กินข้าวทารก ได้

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายท่านอาจจะมีคำถามและเป็นกังวลว่า เมื่อไหร่ที่ควรให้ลูกน้อยนั่ง เก้าอี้กินข้าวทารก หรืออายุลูกน้อยประมาณไหนที่ควรนั่ง เก้าอี้กินข้าวทารก รับประทานอาหารได้แล้ว นอกจากนี้การทำให้ลูกน้อยยอมนั่งรับประทานอาหารบน เก้าอี้กินข้าวทารก นั้น ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย เพราะลูกน้อยเคยชินกับการที่มีคุณพ่อคุณแม่วิ่งตามป้อนอาหารในทุกมื้อ วันนี้เราจึงจะมาหาคำตอบของทั้งสองคำถามกัน

เมื่อไหร่ลูกถึงพร้อมนั่ง เก้าอี้กินข้าวทารก ?

เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนมักจะมีคำถามว่าลูกควรเริ่มใช้ เก้าอี้นั่งกินข้าว ตอนไหน เพราะนอกจากจะช่วยให้ลูกน้อยมีระเบียบวินัยในการรับประทานอาหารแล้ว เก้าอี้กินข้าวทารก ยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้กับลูกน้อยอีกด้วย ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ลองวางจานอาหารที่ถืออยู่ในมือลงบนถาด เก้าอี้นั่งกินข้าว สำหรับเด็กแทน เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ลูกน้อยรับประทานอาหารด้วยตัวเอง

เมื่อไหร่ลูกถึงพร้อมนั่ง เก้าอี้กินข้าวทารก ?

การที่ลูกน้อยจะเริ่มนั่งเก้าอี้ได้นั้นจะต้องสามารถนั่งได้ด้วยตัวเอง สามารถควบคุมศีรษะและตั้งคอได้อย่างมั่นคง เพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการที่ลูกน้อยเริ่มนั่งตรงได้ด้วยตัวเองแสดงว่าลูกน้อยสามารถควบคุมร่างกายได้มากขึ้น ส่วนในด้านของกล้ามเนื้อนั้น ลูกน้อยจำเป็นต้องมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงมากพอ มีความสามารถที่จะรองรับน้ำหนักศีรษะและควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะได้ ซึ่งลูกน้อยจะอยู่ในช่วงอายุ 4-6 เดือน โดยลูกน้อยอาจเอียงศีรษะเล็ก ๆ น้อย ๆ เมื่อนั่งอยู่บน เก้าอี้กินข้าวทารก แต่ลูกน้อยจะสามารถนั่งตัวตรงได้อย่างสบายและควบคุมศีรษะได้เป็นอย่างดี หากป้อนอาหารแบบชิ้นแข็งอย่างเช่น ซีเรียล ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการสำลักอาหาร

แต่อย่างไรก็ตามถ้าลูกน้อยยังไม่สามารถนั่ง เก้าอี้นั่งกินข้าว สำหรับเด็กได้ด้วยตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะมีโอกาสที่จะค่อย ๆ ฝึกลูกน้อย เพื่อพัฒนาความแข็งแกร่งและสามารถนั่ง เก้าอี้กินข้าวทารก ได้ในที่สุด ทั้งนี้ทั้งนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ยังไม่มีความมั่นใจมากเพียงพอก็สามารถปรึกษากุมารแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

เคล็ดลับการใช้ เก้าอี้กินข้าวทารก ให้ปลอดภัย

ถึงแม้ว่าลูกน้อยจะสามารถนั่งเก้าอี้สูงสำหรับเด็กได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่จะต้องคงยังคำนึงถึงความปลอดภัยและระมัดระวังเมื่อลูกน้อยอยู่บนเก้าอี้สูงสำหรับเด็กตลอดเวลา ถ้าอย่างนั้นมาดูกันว่าคุณพ่อคุณแม่จะต้องระมัดระวังลูกน้อยที่นั่งอยู่บนเก้าอี้สูงอย่างไรบ้าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อลูกน้อยมากที่สุด

เคล็ดลับการใช้ เก้าอี้กินข้าวทารก ให้ปลอดภัย

  1. วางเก้าอี้สูงสำหรับเด็กไว้ในบริเวณที่ไม่มีคนพลุกพล่าน และวางพนักพิงไว้ในตำแหน่งที่ตั้งตรง และตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่าเอนของลูกน้อยอยู่ในแนวราบกับเบาะนั่งด้านหลัง โดยที่ลำตัวตั้งตรง
  2. เก้าอี้สูงสำหรับเด็กจะต้องเลือกที่มีการออกแบบมาให้เหมาะสมกับอายุและน้ำหนักของลูกน้อย โดยเลือกเก้าอี้ที่มีคุณภาพได้รับการรับรองมาตรฐาน
  3. ก่อนการใช้งาน เก้าอี้นั่งกินข้าว สำหรับเด็กจะต้องศึกษาและอ่านคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด เพื่อให้เข้าใจวิธีการใช้งานได้เป็นอย่างดี รวมถึงสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
  4. ทุกครั้งก่อนใช้งานเก้าอี้สูงสำหรับเด็กต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีจุดชำรุดหรือเสียหายหรือไม่ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างการใช้งาน
  5. สายรัดเข็มขัดนิรภัยให้ครบทุกจุด เพราะเก้าอี้สูงสำหรับเด็กแต่ละรุ่นมีความแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีสายรัดนิรภัยแบบ 5 จุด และ 3 จุด ให้เลือกซื้อ
  6. หลังการใช้งานเก้าอี้สูงสำหรับเด็กจะต้องทำความสะอาดทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกค้างจนเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคหรือแบคทีเรีย

เทคนิคทำให้ลูกยอมนั่ง เก้าอี้กินข้าวทารก

  1. เลือกซื้อ เก้าอี้นั่งกินข้าว สำหรับเด็กให้หลากหลาย เพราะปัจจุบันนี้เก้าอี้สำหรับเด็กมีให้เลือกทั้งแบบมีสายรัดและไม่มีสายรัด คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกซื้อเก้าอี้ให้กับลูกน้อยทั้งสองรูปแบบ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกน้อย ด้วยการจูงใจให้ลูกน้อยเลือกว่าต้องการนั่งเก้าอี้แบบไหนในแต่ละมื้ออาหาร หากคุณพ่อคุณแม่ให้ทางเลือกกับลูกน้อยก็จะช่วยให้ลูกน้อยยอมนั่งเก้าอี้ง่ายขึ้นมมากกว่าเดิมได้
เทคนิคทำให้ลูกยอมนั่ง เก้าอี้กินข้าวทารก

  1. จัดให้ลูกน้อยรับประทานอาหารพร้อมกับผู้ใหญ่ เพราะอาจจะเป็นเรื่องยากและอึดอัดสำหรับลูกน้อย หากต้องนั่งรับประทานอาหารบน เก้าอี้กินข้าวทารก เพียงคนเดียว คุณพ่อคุณแม่อาจมีการจัดโต๊ะอาหารสำหรับผู้ใหญ่และร่วมรับประทานอาหารไปพร้อมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว และเพิ่มความสนุกสนานให้กับมื้ออาหารของลูกน้อย
  2. คำพูดของคุณพ่อคุณแม่ต้อง “คำไหนคำนั้น” เชื่อว่าทุกคนครอบครัวจะต้องเจอกับปัญหาลูกน้อยไม่ยอมนั่ง เก้าอี้กินข้าวทารก โดยจะลุกหนีออกจาก เก้าอี้นั่งกินข้าว ตลอดเวลา เพราะพวกเขาเคยชินกับการที่มีคุณพ่อคุณแม่คอยวิ่งตามป้อนข้าวนั่นเอง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องแข็งใจและใช้ไม้แข็งกับลูกน้อย ด้วยการให้ลูกน้อยนั่งอยู่บน เก้าอี้นั่งกินข้าว แล้วรัดเข็มขัดเพื่อให้ลูกน้อยนั่งอยู่กับที่ โดยที่ไม่มีการต่อรองใด ๆ เช่นเดียวกับการที่ลูกน้อยจำเป็นต้องนั่งคาร์ชีตเมื่ออยู่บนรถ
  3. คุณพ่อคุณแม่ต้องใจแข็งและนิ่งเข้าไว้ หลายคนจะต้องเจอกับการต่อต้านของลูกน้อย เมื่อจับเขานั่งบน เก้าอี้กินข้าวทารก ซึ่งส่วนใหญ่ลูกน้อยจะประท้วงด้วยการไม่ยอมรับประทานอาหาร คุณพ่อคุณแม่จะต้องใจแข็งและทำให้ลูกน้อยรู้ว่า ถ้าเขาไม่รับประทานอาหารมื้อนี้ หลังจากนั้นถ้าเกิดหิวหรือต้องการรับประทานอาหาร ลูกน้อยจะไม่ได้รับสิทธิ์ในการรับประทานอาหารอีกครั้ง และทุกครั้งเมื่อถึงเวลารับประทานอาหารลูกน้อยจะต้องนั่งรับประทานอาหารบน เก้าอี้นั่งกินข้าว เท่านั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเหนื่อยกับลูกน้อยสักประมาณ 2-3 มื้อ ลูกน้อยจะปรับตัวและเข้าใจว่า ถ้าเมื่อไหร่ที่เขาหิวจะต้องนั่งบนเก้าอี้สำหรับทานข้าว และในที่สุดลูกน้อยก็จะสามารถนั่งรับประทานอาหารได้อย่างเป็นที่เป็นทาง

หนึ่งในความฝันของคุณพ่อคุณแม่ก็คือการที่ลูกน้อยสามารถนั่ง เก้าอี้กินข้าวทารก เพื่อรับประทานอาหารร่วมมื้อกับสมาชิกในครอบครัวได้ แต่เพราะ เก้าอี้นั่งกินข้าว สำหรับเด็กไม่เหมือนกับ เก้าอี้นั่งกินข้าวผู้ใหญ่ รวมถึงความไม่คุ้นเคยในการนั่งเก้าอี้เพื่อรับประทานอาหารของลูกน้อย จึงอยากเป็นเรื่องยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่าน แต่ถ้าหากผ่านช่วงนี้ไปได้ เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่จะสามารถรับประทานอาหารร่วมกับลูกน้อยได้อย่างมีความสุขและสนุกสนานแน่นอน

Cart

Close

Your cart is currently empty.

Start Shopping

Select options

Close