Skip to content

Welcome to our store

Lounge Lovers
Previous article
Now Reading:
เทคนิคแมทช์โต๊ะกลางและ โต๊ะข้างโซฟา ต่างสไตล์ให้สวยเป๊ะลงตัว
Next article

เทคนิคแมทช์โต๊ะกลางและ โต๊ะข้างโซฟา ต่างสไตล์ให้สวยเป๊ะลงตัว

เทคนิคแมทช์โต๊ะกลางและ โต๊ะข้างโซฟา ต่างสไตล์ให้สวยเป๊ะลงตัว

โต๊ะกลางและ โต๊ะข้างโซฟา ถือเป็นเฟอร์นิเจอร์สองชิ้นที่หลายๆ บ้านมักมีไว้ประจำห้องนั่งเล่นหรือพื้นที่รับแขก อย่างไรก็ตาม เราอาจพบปัญหาที่ว่า โต๊ะกลางรับแขก กับโต๊ะข้างนั้นมีดีไซน์ที่ค่อนข้างต่างกัน ทำให้พอจัดวางไว้ในพื้นที่เดียวกันแล้วดูไม่ลงตัว เช่น โต๊ะกลางโซฟาโมเดิร์น สุดทันสมัยกับโต๊ะข้างดีไซน์ดั้งเดิม ซึ่งความต่างของสไตล์อาจทำให้ภาพรวมของห้องดูไม่ผสานกลมกลืนกัน ในบทความนี้เราเลยจะมาเผยเทคนิคการเลือกองค์ประกอบ จัดวาง และตกแต่งโต๊ะกลางกับ โต๊ะข้างโซฟา ที่มีสไตล์ต่างกันให้ดูสวยงามลงตัว ซึ่งเทคนิคเหล่านี้จะมีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย

8 Tips แมทช์โต๊ะกลางและ โต๊ะข้างโซฟา ต่างสไตล์

เทคนิคที่ช่วยให้เราสามารถจัดการกับโต๊ะกลางโซฟาและโต๊ะข้างโซฟาที่มีสไตล์ต่างกันได้อย่างลงตัวและสวยงามสบายตายิ่งขึ้นได้ มีดังนี้

1. เลือกองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน

เทคนิคแรกในการจับคู่โต๊ะต่างสไตล์ทั้งสองตัว อาจเริ่มจากการเลือกองค์ประกอบบางอย่าง เช่น วัสดุ สี ลวดลาย และพื้นผิว ที่สามารถเชื่อมโยงเฟอร์นิเจอร์ทั้งคู่เข้าด้วยกันได้ ยกตัวอย่างเช่น หากโต๊ะกลางของเราทำมาจากไม้เก่าหรือ reclaimed wood เราก็อาจเลือกโต๊ะข้างที่ทำจากไม้สีเข้มซึ่งเป็นสีในโทนเดียวกัน หรือหาก โต๊ะข้างโซฟา มีส่วนขาโต๊ะที่เป็นโลหะ เราก็อาจเพิ่มองค์ประกอบที่เป็นโลหะในโทนสีและผิวสัมผัสแบบเดียวกันให้แก่โต๊ะกลาง อย่างเช่นชามหรือถาดโลหะ เป็นต้น

8 Tips แมทช์โต๊ะกลางและ โต๊ะข้างโซฟา ต่างสไตล์

2. จัดสัดส่วนให้สมดุล

แม้โต๊ะสองตัวจะมีดีไซน์ต่างกัน แต่อย่างน้อยควรมั่นใจได้ว่าขนาดของโต๊ะทั้งคู่นั้นมีสัดส่วนที่เหมาะสมและพอดีกับพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น หาก โต๊ะกลางรับแขก ของเรามีขนาดใหญ่หรือมีดีไซน์ค่อนข้างหนา โต๊ะข้างที่นำมาวางไว้ในพื้นที่เดียวกันก็ควรมีขนาดเล็กและมีดีไซน์ที่ค่อนข้างเพรียวบางกะทัดรัด เพื่อสร้างความแตกต่างอย่างสมดุลให้กับพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้ภาพรวมของห้องดูกลมกลืนและสอดรับกันมากกว่า

3. ประสานรอยต่อด้วยการตกแต่ง

เราสามารถเชื่อมรอยต่อระหว่างสไตล์ที่แตกต่างกันได้ด้วยไอเทมตกแต่งโต๊ะที่มีความคล้ายคลึงหรือให้ฟีลลิ่งแบบเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น หนังสือ coffee book ปกแข็งหรือแมกกาซีนเก๋ๆ ต้นไม้ในกระถางที่มีโทนสีเดียวกันและขนาดเท่าๆ กัน หรือถาดวางของแบบเดียวกันสำหรับโต๊ะทั้งสองตัว เป็นต้น เทคนิคนี้จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่เชื่อมโยงกันระหว่างเฟอร์นิเจอร์ทั้งสองชิ้นได้ และช่วยให้ภาพรวมของการตกแต่งดูกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันยิ่งขึ้น

ประสานรอยต่อด้วยการตกแต่ง

4. ผสมผสานวัสดุ

การผสมผสานวัสดุหลายชนิดที่มีผิวสัมผัสแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงอาจทำให้เฟอร์นิเจอร์ที่มีสไตล์ไม่แมทช์กันสามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างเข้าที่เข้าทางยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การจับคู่ โต๊ะกลางโซฟาโมเดิร์น ที่ทำจากกระจกพื้นผิวเรียบแวววาว เข้ากับโต๊ะข้างไม้สไตล์รัสติกที่มีพื้นผิวขรุขระ หรือเลือกโต๊ะกลางที่ทำจากหินอ่อน จับคู่กับโต๊ะข้างที่สานจากหวายหรือไม้ไผ่ ซึ่งความแตกต่างที่เป็นขั้วตรงข้ามแบบนี้สามารถทำให้พื้นที่ของเรามีความน่าสนใจและมีเสน่ห์ดึงดูดยิ่งขึ้นได้เช่นกัน

ผสมผสานวัสดุ

5. แมทช์โทนสีให้ลงตัว

เราสามารถใช้เทคนิคการจัดชุดสีหรือจับคู่สีที่ถูกต้องให้กับห้องนั่งเล่น เพื่อให้พื้นที่โดยรวมมีภาพลักษณ์ที่ดูเป็นหนึ่งเดียวกันได้ โดยอาจเลือกใช้คู่สีหรือชุดสีตามทฤษฎีวงล้อแห่งสี (color scheme) มาเป็นธีมหลักในการเลือกองค์ประกอบตกแต่งห้อง ไปจนถึงการเลือกแต่งห้องแบบโมโนโครม หรือใช้โทนสีเดียวเป็นหลัก ด้วยเทคนิคนี้ แม้เฟอร์นิเจอร์ภายในห้องจะมีสไตล์ที่แตกต่างกัน เราก็สามารถใช้โทนสีที่เข้ากันในการประสานรอยต่อแห่งความแตกต่างให้ดูไปในทิศทางเดียวกันได้

แมทช์โทนสีให้ลงตัว

6. หาชิ้นส่วนเชื่อมต่อ

อีกหนึ่งเทคนิคที่เราแนะนำก็คือการเลือกไอเทมชิ้นที่ 3 ซึ่งรวมเอาองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกับทั้งโต๊ะกลางและ โต๊ะข้างโซฟา มาไว้ มาเป็นตัวเชื่อมความแตกต่างระหว่างสไตล์ทั้งสอง ยกตัวอย่างเช่น หากเรามีโต๊ะกลางบุผ้าแบบ upholstery กับโต๊ะข้างที่ทำจากไม้ทั้งตัว ก็อาจมองหาโซฟาหรืออาร์มแชร์ที่ทำจากวัสดุทั้งผ้าและไม้มาใช้ ไปจนถึงการเลือกไอเทมตกแต่งที่มีความโดดเด่นสะดุดตามาเป็นชิ้นส่วนเชื่อมต่อ เช่น โคมไฟตั้งพื้น เชิงเทียนโลหะ แจกันขนาดใหญ่ หรืองานศิลปะที่มีสีสันและลวดลายเข้ากันได้กับเฟอร์นิเจอร์ทั้งสองชิ้น เป็นต้น

7. ต่างสไตล์อยู่ด้วยกันได้อย่างลงตัว

การแต่งห้องนั่งเล่นให้สวยเก๋มีสไตล์ไม่ได้หมายความว่าเราต้องคุมโทนเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งทุกชิ้นให้เป็นธีมเดียวกันทั้งหมด เพราะเรายังสามารถเลือกข้าวของที่มีดีไซน์หลากหลาย หรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากสไตล์ต่างๆ เพื่อรังสรรค์พื้นที่ให้มีกลิ่นอายแบบผสมผสานหรือ Eclectic ได้ ตัวอย่างเช่น การเลือกโต๊ะกลางแบบโมเดิร์นมาจัดวางเข้ากับโต๊ะข้างเก่าแก่สไตล์วินเทจ รวมถึงการวางไอเทมตกแต่งที่ให้บรรยากาศแบบโบฮีเมียน ซึ่งอาจช่วยให้ห้องดูมีสีสันและมีชีวิตชีวามากกว่าการเคร่งครัดกับธีมการตกแต่งแค่รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพียงอย่างเดียว

ต่างสไตล์อยู่ด้วยกันได้อย่างลงตัว

8. จัดวางเพื่อสร้างมิติ

การจัดเรียงไอเทมซ้อนกันเพื่อสร้างมิติให้กับโต๊ะทั้งสองตัว จะช่วยให้ภาพรวมของโต๊ะกลางและโต๊ะข้างดูแมทช์กันยิ่งขึ้น แม้ดีไซน์ของโต๊ะทั้งคู่จะมาในต่างสไตล์กันก็ตาม ตัวอย่างเช่น การวางตั้งหนังสือบนผ้าคลุมหรือผ้าปูโต๊ะ การวางแผ่นรอง ถาด ชามใส่ของ จนถึงการวางไอเทมประดับตกแต่งอื่นๆ เรียงซ้อนกันเป็นเลเยอร์ วิธีนี้จะช่วยสร้างจุดดึงดูดสายตาและอำพรางรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วของโต๊ะทั้งสองตัวได้

เทคนิคการเลือกองค์ประกอบและตกแต่งโต๊ะทั้ง 8 ข้อที่ว่ามานี้ จะช่วยให้เราสามารถจัดวาง โต๊ะกลางรับแขก เข้ากับ โต๊ะข้างโซฟา ที่มีสไตล์ต่างกันได้อย่างลงตัวยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจับคู่ โต๊ะกลางโซฟาโมเดิร์น กับโต๊ะข้างสไตล์รัสติก หรือโต๊ะกลางวินเทจกับโต๊ะข้างมินิมอลสุดชิค ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะจัดวางไว้ในพื้นที่เดียวกันอย่างประสานกลมกลืน และช่วยสร้างสรรค์พื้นที่นั่งเล่นที่สวยเก๋โดดเด่นตามสไตล์เราได้อย่างไร้ที่ติ

Cart

Close

Your cart is currently empty.

Start Shopping

Select options

Close