ทุกวันนี้มี เก้าอี้กินข้าว ให้เลือกมากมาย ตั้งแต่ เก้าอี้กินข้าว ของเด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งปกติแล้วเวลาเราจะเลือกเฟอร์นิเจอร์สักชิ้น บางคนอาจจะมองหาจากความสวยงามเป็นหลัก บางคนมองหาจากวัสดุเป็นหลัก แต่สำหรับ เก้าอี้กินข้าว ผู้สูงอายุแล้ว จะมีความพิถีพิถันและวิธีการเลือกเก้าอี้ที่แตกต่างจากของเด็กและผู้ใหญ่ เพราะด้วยวัยที่มากขึ้นอาจทำให้มีปัญหาสุขภาพบางอย่างที่อาจส่งผลต่อการใช้เก้าอี้ระหว่างรับประทานอาหารได้ ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนไปดูเทคนิคการเลือกเก้าอี้ให้กับผู้สูงอายุ เพื่อที่ท่านจะได้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสมมากที่สุด
เทคนิคง่าย ๆ เลือก เก้าอี้กินข้าว ผู้สูงอายุอย่างไร ให้ปลอดภัย ใช้งานได้อย่างเหมาะสม
ใครว่า เก้าอี้กินข้าว ผู้สูงอายุจะเลือกแบบไหนก็ได้ ขอแค่นั่งรับประทานอาหารได้ก็เพียงพอ บอกเลยว่า จริง ๆ แล้วการเลือกเก้าอี้ให้ผู้สูงอายุไว้สำหรับรับประทานอาหารจะต้องพิถีพิถันและใส่ใจในการเลือก เพราะนอกจากจะช่วยทำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้อย่างสะดวกสบายแล้ว ยังเพิ่มความปลอดภัยให้กับท่านอีกด้วยนะ ซึ่งวิธีง่าย ๆ ที่ใช้ในการเลือกก็คือ...
เก้าอี้กินข้าว มีความสูงเหมาะสม เพราะโดยทั่วไปแล้วความสูงของโต๊ะระหว่างพื้นผิวโต๊ะถึงพื้นจะอยู่ที่ประมาณ 75-90 เซนติเมตร ซึ่งจะสามารถรองรับเก้าอี้ปกติและเก้าอี้รถเข็นได้ คือสามารถสอดรับได้อย่างสะดวก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วแนะนำให้ทดลองสอดเก้าอี้เข้าใต้โต๊ะดูก่อนจะเลือกซื้อ นอกจากนี้ควรทดลองนั่งเก้าอี้เพื่อสังเกตว่า สามารถเอื้อมหยิบของได้ถนัดหรือไม่ เท้าติดพื้นหรือเปล่า โดยเมื่องอเข่าแล้วจะต้องเป็นมุมฉากพอดี หากเท้าลอยจากพื้น อาจหาแผ่นเสริมมารองใต้ เพราะความสูงที่เหมาะสมจะทำให้ผู้สูงวัยสามารถทำกิจกรรมได้นานหรือรับประทานอาหารได้อย่างสะดวก ไม่ปวดเมื่อยหลัง แม้ว่าจะ นั่งเก้าอี้กินข้าว ประเภทไหนก็ตาม
เก้าอี้กินข้าว มีขนาดความกว้างเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้รับประทานอาหารประเภทไหนก็แล้วแต่ ควรมีขนาดความกว้างที่เพียงพอ คือสามารถรับประทานอาหารได้อย่างสะดวก เคลื่อนไหวได้อย่างสบาย และทำกิจกรรมได้หลากหลายบนเก้าอี้ และถ้าหากสามารถใช้พื้นที่ดังกล่าวได้บ่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดความคุ้นเคยและประหยัดงบได้อีกด้วย
สอด เก้าอี้กินข้าว เข้าไปในช่องว่างของโต๊ะได้ อีกหนึ่งสิ่งที่ควรจะให้ความสำคัญก็คือ เก้าอี้ตัวนั้น ๆ จะต้องสอดเข้าไปในช่องว่างของโต๊ะได้อย่างพอดี เมื่อเลื่อนเก้าอี้ชิดกับโต๊ะแล้ว เพราะหากคับหรือแน่นจนเกินไปอาจจะเกิดอาการบาดเจ็บได้ เช่น เจ็บหัวเข่า เจ็บเท้า หรือเจ็บหน้าตัก เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกันถ้ามีช่องว่างระหว่างโต๊ะกับเก้าอี้เยอะจนเกินไป ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดเมื่อยแขน ปวดหัวไหล่ เนื่องจากนั่งผิดท่าระหว่างรับประทานอาหารหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ
เก้าอี้กินข้าว ควรเป็นลักษณะอาร์มแชร์ เพราะผู้สูงวัยที่มีปัญหากล้ามเนื้อและการทรงตัว ควรเลือกเก้าอี้ที่มีพนักเท้าแขนและพนักพิงหลังที่สูง ซึ่งจะเหมาะสมกับผู้สูงอายุมากที่สุด เนื่องจากจะช่วยในเรื่องของการออกตัวและทรงตัวได้ดีขึ้นในขณะนั่งแล้ว เมื่อต้องเปลี่ยนอิริยาบถจากการนั่งเป็นการยืนจะช่วยให้ทำได้ดีอีกด้วย เพราะที่พักแขนจะเป็นตัวช่วยยึดเหนี่ยวให้ผู้สูงอายุสามารถประคองตัวในระหว่าเปลี่ยนแปลงท่าทางได้เป็นอย่างดี มั่นคง และปลอดภัย ส่วนเบาะเก้าอี้อาจจะต้องสังเกตเรื่องวัสดุว่าจะต้องไม่นิ่มหรือยวบ เพราะอาจทำให้หลังงอ เมื่อยหลัง หรือเมื่อยคอได้ รวมถึงระดับความสูงของเบาะควรรองรับได้อย่างพอดี เข่าตั้งฉากและเท้าสัมผัสพื้น
ผิวสัมผัสของเก้าอี้ต้องปลอดภัย ส่วนในเรื่องของผิวสัมผัสเก้าอี้ควรมองหาพื้นผิวที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิเร็วจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิที่เย็นหรือร้อน แนะนำให้เลือก เก้าอี้ไม้กินข้าว ที่เป็นวัสดุเสมือนไม้เท่านั้น เพราะนอกจากจะทำให้เกิดความอบอุ่นแล้ว ผิวสัมผัสยังไม่เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิเร็วมากนักจนเป็นอันตรายต่อผิวหนังของผู้สูงอายุ
รู้ก่อนเลือก คำนึงก่อนซื้อ! เก้าอี้กินข้าว ผู้สูงอายุกับข้อควรระวังที่ต้องใช้ประกอบการตัดสินใจ
หลังจากที่เรารู้เทคนิคเลือกซื้อ เก้าอี้กินข้าว สำหรับผู้สูงอายุไปแล้ว อีกหนึ่งอย่างที่ขาดไม่ได้เลย ซึ่งนั่นก็คือ การคำนึงถึงโรคประจำตัวของผู้สูงอายุ เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุจะมีโรคประจำตัวที่แตกต่างกันออกไป เก้าอี้กินข้าวผู้ใหญ่ จึงมีความแตกต่างจาก เก้าอี้กินข้าว ผู้สูงอายุ โดยอาการของโรคบางอย่างควรนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ เก้าอี้กินข้าว ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละท่าน เพื่อที่จะได้สามารถใช้งาน เก้าอี้กินข้าว ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง
ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง ที่ทำให้ไม่สามารถขับถ่ายได้ตามปกติ ดังนั้นเพื่อสุขลักษณะที่ดี เราจึงควรเลือกเก้าอี้ที่เป็นวัสดุห่อหุ้มด้วยหนังหรือวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย
ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเอง จะต้องคำนึงถึงเรื่องการป้องกันปัญหาแผลกดทับในบางบริเวณ เช่น หลังก้น บริเวณที่รับน้ำหนักตัว วัสดุเก้าอี้ที่แนะนำให้เลือกจะต้องระบายความร้อยได้ดี ทำจากวัสดุที่เป็นผ้าแล้วทำเบาะรองนั่งหุ้มด้วยผ้าอีกชั้นหนึ่ง ไม่ควรเลือก เก้าอี้กินข้าว ที่ทำมาจากหนัง เพราะจะทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี ซึ่งอาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดปัญหาสุขภาพตามมาภายหลังได้
ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอย่างภูมิแพ้ แพ้ฝุ่นละออง มีความจำเป็นที่จะต้องเลือก เก้าอี้กินข้าว ที่ทำจากหนังหรือมีวัสดุหนังห่อหุ้ม เพื่อลดการสะสมของฝุ่นละออง และสามารถทำความสะอาดได้ง่ายอีกด้วย
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการทรงตัว เพื่อเป็นการป้องกันการนั่งเอียง อาจจำเป็นที่จะต้องเลือกเก้าอี้ที่แตกต่างจาก เก้าอี้กินข้าวผู้ใหญ่ อย่างสิ้นเชิง คือแนะนำให้เลือกเก้าอี้ที่มีที่ประคองตรงศีรษะ เพราะนอกจากจะช่วยเรื่องการนั่งเอียงแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้ไหล่ตกลงด้านข้าง แต่เก้าอี้ประเภทนี้จะค่อนข้างมีลักษณะที่พิเศษแตกต่างจากเก้าอี้อื่น ๆ ทั่วไปมาก
และนี่ก็คือเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรานำมาฝากทุกคนกัน สามารถลองนำไปปรับใช้กันดูได้ โดยที่เราจะต้องอย่าลืมว่า การเลือก เก้าอี้กินข้าว ผู้สูงอายุ ต้องเลือกที่แตกต่างจาก เก้าอี้นั่งกินข้าวผู้ใหญ่ ไม่แนะนำให้เลือก เก้าอี้กินข้าวหมุนได้ เพื่อความปลอดภัยและการใช้งานเก้าอี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มาช่วยกันทำให้ทุกช่วงเวลามื้ออาหารหรือช่วงเวลาทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ มีแต่เรื่องราวดี ๆ เสียงหัวเราะ และรอยยิ้ม พร้อมความประทับใจในทุกช่วงเวลาที่สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกันไปด้วยกันนะ