เมื่อพูดถึงวัสดุที่นิยมนำไปทำเฟอร์นิเจอร์หลาย ๆ คนคงจะนึกถึง “หนัง” ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นวัสดุยอดฮิตที่เป็นที่รู้จักมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เข็มขัด โดยเฉพาะกับเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ ๆ ของบ้านที่ไม่ได้มีไว้ใช้เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเอาไว้เพื่อโชว์หรือบ่งบอกรสนิยมของเจ้าของบ้านอีกด้วย อย่าง โซฟาหนัง รวมไปถึงชิ้นรองลงมาอย่าง อาร์มแชร์หนัง หรือเก้าอี้หนัง เป็นต้น เพราะว่าเฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาหนัง จะให้ทั้งความสวยงาม ความหรูหรา เสริมภาพลักษณ์ ความมีระดับ และในแง่ของการใช้งานก็ยังมีความทนทาน สามารถใช้งานได้ยาวนาน อีกทั้ง โซฟาหนัง เองยังสามารถนำไปตกแต่งบ้านได้หลากหลายสไตล์ ไม่ว่าจะเป็น สไตล์โมเดิร์น มินิมอล คลาสสิก ย้อนยุคแบบเรโทร และอีกมากมาย เพียงแค่เลือกดีไซน์และสีให้เหมาะสม เรียกว่า เฟอร์นิเจอร์หนัง จะต้องเป็นที่ชื่นชอบของใครหลาย ๆ คนอย่างแน่นอนเลยทีเดียว และในครั้งนี้เราจะพาคนรักบ้านที่อยากจะเลือก โซฟาหนัง เพื่อตกแต่งห้องนั่งเล่นหรือห้องรับแขก ไปรู้จักและทำความเข้าใจเฟอร์นิเจอร์หนังมากยิ่งขึ้น จะได้เลือกได้ถูกใจและดูแลรักษาให้เฟอร์นิเจอร์หนังสวยเหมือนใหม่ไปอีกนาน
รู้จักกับ “หนังแต่ละประเภท” ที่นิยมนมาใช้ทำ โซฟาหนัง
โดยทั่วไปวัสดุหนังที่ใช้ในการผลิต โซฟาหนังแท้ ไม่ได้มีแค่หนังแท้ประเภทต่าง ๆ เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีหนังประเภทอื่น ๆ ที่ถูกพัฒนาและผลิตขึ้นมาทดแทนการใช้หนังแท้ที่มีราคาแพง ได้แก่ หนังเทียม ซึ่งทั้งวัสดุหนังแท้และหนังเทียมนั้นก็สามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีก ถ้าอย่างนั้นเราไปดูกันเลยว่ามีหนังอะไรบ้างที่นิยมนำมาใช้ทำเป็นวัสดุหุ้ม โซฟาหนัง
“หนังแท้” สำหรับ โซฟาหนังแท้ เป็นหนังที่ได้มาจากสัตว์ เช่น หนังวัว หนังจระเข้ หนังปลากระเบน หนังนกกระจอกเทศ ฯลฯ โดยนำผิวหนังของสัตว์เหล่านั้นมาผ่านกระบวนการฟอกเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย หนังแท้จะมีลวดลายเป็นธรรมชาติ และไม่มีรอยต่อ และต้องใช้ช่างที่มีความเชี่ยวชาญในการนำมาใช้เป็นวัสดุหุ้มเฟอร์นิเจอร์ ส่วนมากจะใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เช่น โซฟาหนังแท้ โซฟาเบด อาร์มแชร์สุดหรู เป็นต้น ซึ่งหนังแท้สามารถแบ่งย่อยได้อีก 4 ชนิด ดังนี้
- Full Grain หนังชั้นบนสุดที่ไม่มีการเจียรผิวหรือขัดลวดลายออก เหมาะนำไปห่อหุ้มเฟอร์นิเจอร์บริเวณด้านนอก
- Split เป็นหนังที่อยู่ชั้นกลาง ซึ่งโครงสร้างของเนื้อหนังยังคงมีโครงสร้างที่ดี จึงนำไปผลิตเป็นหนัง Nubuck หรือ Suede หนังประเภทนี้เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นหนังหน้า
- Lining เป็นหนังชั้นสุดท้าย ซึ่งมีโครงสร้างไม่เหมาะสำหรับนำไปทำหนังหน้า ส่วนใหญ่จะถูกนำไปทำซับใน
- Bonded leather เป็นเศษหนังที่ถูกกักไว้ในขั้นตอนการตัดหนัง Full grain, Split และ Lining นำไปผสมกับกาวและนำมาทำเป็นม้วนหรือแผ่น สามารถนำไปใช้ได้กับทุก ๆ ส่วนของการผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง
“หนังเทียม” เป็นวัสดุหนังเทียมที่ผลิตมาเพื่อใช้ทดแทนหนังแท้ในการทำ โซฟาหนัง โดยวัสดุหนังเทียมจะให้ความรู้สึกในการสัมผัสเหมือนกับหนังแท้ มีอายุการใช้งานยาวนาน และมีความทนทนสูง โดยจุดเด่นของวัสดุหนังเทียม คือจะมีแท็กเจอร์และลวดลายคล้ายกับหนังแท้ โดยหนังเทียม สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภทย่อย ๆ ดังนี้
- หนังเทียม PU สัมผัสใกล้เคียงกับหนังแท้มากที่สุด มีความนุ่มยืดหยุ่น ผิวด้านนอกมีความมันวาว ผลิตจากพลาสติกผสมกับการทอ นิยมนำไปใช้ผลิตเป็น โซฟาหนัง มากที่สุด
- หนังเทียม PVC เกรดต่ำสุด ราคาถูก ทนทานต่อการขูด สัมผัสนุ่ม นิยมไปใช้ในการผลิต เก้าอี้หนัง โซฟาหนัง กระเป๋าหนัง
- หนังเทียมผสม เป็นการนำจุดเด่นของ PU และ PVC มารวมกัน เพื่อให้ได้ผ้าบุหนังเทียมที่มีคุณภาพดีขึ้น คุณภาพใกล้เคียงกับหนังแท้มากขึ้นกว่าเดิม ในราคาที่ถูกกว่า ผิวนุ่มและนิ่ม ทนทานต่อรอยขูดขีด ไม่ห้อยย้อย และมีความสามารถในการคืนรูปได้ดีกว่าหนังเทียม PU
ข้อดีและข้อสังเกตของ หนังแท้ และ หนังเทียม ที่น่ารู้ก่อนเลือกซื้อ โซฟาหนัง
ก่อนที่คนรักบ้านจะตัดสินใจเลือกซื้อ โซฟาหนัง อยากแนะนำให้รู้จักกับข้อดีและข้อสังเกตของทั้งหนังแท้และหนังเทียมกันก่อน จะได้ช่วยในการตัดสินใจได้ว่าไลฟ์สไตล์ของคุณเหมาะกับการเลือกใช้วัสดุหุ้ม โซฟาหนัง ด้วยหนังแท้หรือหนังเทียมจะดีกว่ากันนั่นเอง
- ข้อดีของหนังแท้ ได้แก่ ให้ความรู้สึกหรูหรา มีระดับ, ทนทาน อายุการใช้งานนานกว่าวัสดุอื่น, ผิวสัมผัสนิ่มสบาย ระบายอากาศได้ดี
- ข้อสังเกตของหนังแท้ ได้แก่ ราคาสูง, ตัดเย็บยากต้องใช้ช่างที่มีผีมือและประสบการณ์สูง, มีกลิ่นในระยะแรก แต่เมื่อผ่านการใช้งาน กลิ่นจะจางหายไปเอง
- ข้อดีของหนังเทียม PU ได้แก่ ราคาย่อมเยาว์ เมื่อเทียบกับหนังแท้, มีลวดลายและสีหลากหลาย, ผิวสัมผัสนุ่มสบาย, ทำความสะอาดง่าย ไม่เก็บฝุ่น
- ข้อเสียของหนังเทียม PU ได้แก่ ทนทานไม่เท่าหนังแท้, แพงกว่าหนัง PVC ประมาณ 2 เท่า, ระบายอากาศได้น้อย ไม่เหมาะกับห้องที่อบอ้าว
รวมเคล็ดลับวิธีการดูแลรักษา โซฟาหนัง แบบเบื้องต้น ฉบับมือใหม่
- หมั่นเช็ดฝุ่นออกด้วยผ้าแห้ง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อไม่ให้ฝุ่นเกาะ หรือใช้เครื่องดูดฝุ่นแบบหัวแปรงขนนุ่มคอยหมั่นดูดฝุ่นตามซอกมุมต่าง ๆ
- ใช้น้ำยาหรือผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดโซฟาหนังแท้โดยเฉพาะ หากไม่มีสามารถนำผ้าชุบน้ำพอหมาดแล้วไปเช็ดทำความสะอาดได้ แต่ถ้าเป็นรอยเปื้อนใช้ผ้าชุบน้ำสบู่อ่อน ๆ ห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์หรือน้ำยาที่มีฤทธิ์กัดกร่อนอื่น ๆ กับ โซฟาหนัง โดยเด็ดขาด
- หมั่นทาครีมบำรุง โซฟาหนัง เพื่อที่หนังจะได้ยืดหยุ่น และได้รับการปกป้องทำให้ยืดอายุการใช้งาน อย่างน้อยปีละครั้ง
- ไม่ควรปล่อยให้ โซฟาหนัง โดนแสงแดดเป็นเวลานาน จะทำให้ผิวหุ้มกรอบเร็วมากขึ้นและเสี่ยงต่อการแตกจนดูไม่สวยงาม
- พยายามอย่าวาง โซฟาหนัง ใกล้กับเครื่องปรับอากาศ เพราะจะทำให้หนังสูญเสียความชุ่มชื้นมากกว่าปกติ
และทั้งหมดนี้ก็คือความรู้เบื้องต้นที่คนรักบ้านจะต้องรู้เอาไว้ก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อ โซฟาหนัง มาจัดวางในห้องนั่งเล่น หรือตามห้องต่าง ๆ ของบ้าน เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์หนังจะมีความละเอียดอ่อนในการดูแลที่แตกต่างจากวัสดุหุ้มแบบอื่น โดยเฉพาะ โซฟาหนังแท้ ที่จะต้องดูแลเป็นพิเศษและจะต้องพิถีพิถันในการเลือกสรร โซฟาหนังแท้ ที่ทำจากหนังแท้จริง ๆ ซึ่งมีคุณภาพดี มีความสวยงาม และทนทาน เพื่อจะได้เฟอร์นิเจอร์หนังที่ใช้งานได้นานและคุ้มค่าคุ้มราคาที่จ่ายไป